รุ่นทั่วไป ของ ปากานี ซอนดา

ซี12

ซอนดา ซี12 (Zonda C12) เปิดตัวในปี ค.ศ. 1999 ที่งานเจนีวามอเตอร์โชว์ ใช้เครื่องยนต์ 6.0 ลิตร ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ V12 สามารถให้กำลังได้ 389 แรงม้า (394 PS; 290 kW) ที่ 5,200 รอบ/นาที และแรงบิดที่ 570 นิวตัน·เมตร (420 lb·ft) ที่ 3,800 รอบ/นาที ใช้ระบบส่งกำลังเป็นเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ สามารถทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ที่ 4.2 วินาที

เอส

ซอนดา เอส (Zonda S) ใช้เครื่องยนต์ 7.0 ลิตร (427 cu in) ของเอเอ็มจีโดยได้รับการแต่งเครื่องพิเศษ สามารถให้กำลังได้ถึง 540 แรงม้า (550 PS; 290 kW) ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ที่ 3.7 วินาที และความเร็วสูงสุดที่ 335 กม./ชม. (208 ไมล์/ชม.) ซอนด้า เอส ตั้งราคาจำหน่ายไว้ที่ 5 แสนดอลลาร์ หรือประมาณ 15 ล้านบาท

เอส 7.3

ซอนด้า เอส (Zonda S 7.3) โมเดลปี ค.ศ. 2002 เป็นรุ่นเสริมของซอนดา เอส มีการเพิ่มขนาดเครื่องยนต์เป็น 7.3 ลิตร (445 cu in) ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอเอ็มจี สามารถให้กำลังได้ 547 แรงม้า (555 PS; 408 kW) และแรงบิดที่ 750 นิวตัน·เมตร (550 lb·ft) มีการปรับปรุงระบบแฮนเดิล แต่ก็ยังคงใช้ระบบเอบีเอสเช่นเดิม

ซอนด้า โรสเตอร์ สีเหลือง

ซอนดา โรสเตอร์

ซอนด้า โรสเตอร์ (Zonda Roadster) โมเดลปี ค.ศ. 2003 เป็นเวอร์ชันโรสเตอร์เปิดประทุนของ ซอนด้า เอส 7.3 โดยใช้เครื่องยนต์และทุกอย่างเหมือนเดิม ทางค่ายปากานี ได้กล่าวว่าสมรรถภาพของโรสเตอร์จะต้องเท่าคูเป โดยอ้างจากน้ำหนักที่ลดลงไป 30 กิโลกรัม (66 lb) ซอนด้า โรสเตอร์ผลิตมาเพียง 40 คันเท่านั้น[6]

ซอนดา เอฟ

ซอนด้า เอฟ (Zonda F หรือชื่อเต็มคือ Zonda Fangio ชื่อนักแข่งฟอร์มูลาวัน) เปิดตัวในปี ค.ศ. 2005 ในงานเจนีวามอเตอร์โชว์ ซอนด้า เอฟ ถือเป็นรุ่นที่แพงที่สุดในบรรดารุ่นล่าสุดของซอนดาในขณะนั้น ใช้เครื่องยนต์ขนาด 7.3 ลิตร ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอเอ็มจี V12 สามารถให้กำลังได้ 594 แรงม้า (602 PS; 443 kW) ที่ 6,150 รอบ/นาที และแรงบิดที่ 795 นิวตัน·เมตร (560 lb·ft) ที่ 4,000 รอบ/นาที ซอนดา เอฟ จะผลิตมาเพียง 25 คันในโลกเท่านั้น

ซอนดา โรสเตอร์ เอฟ

ซอนดา โรสเตอร์ เอฟ (Zonda Roadster F) เปิดตัวในปี ค.ศ. 2006 ในเจนีวาออโตโชว์ เป็นเวอร์ชันโรสเตอร์เปิดประทุนของ ซอนด้า เอฟ โดยใช้เครื่องยนต์และทุกอย่างเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนหลังคาคาร์ไฟเบอร์เป็นหลังคาผ้าใบ ที่มีน้ำหนักเพียง 5 กิโลกรัม (11 lb) ส่วนจำนวนการผลิต ผลิตจำนวนเท่ากับ ซอนด้า เอฟ ที่ 25 คันเช่นกัน

ซอนดา ชิงเคว

ปากานี ชิงเคว โรดสเตอร์ ผลิตมาเพียง 5 คันเท่านั้น

ปากานี ชิงเคว (Zonda Cinque; คำว่า ชิงเคว แปลว่า 5 ในภาษาอิตาลี) เป็นรุ่นที่มีผลิตเพียง 5 คันเท่านั้นตามชื่อรุ่น โดยจะวางขายประมาณ 2,193,070 ดอลลาร์ หรือประมาณ 65 ล้านบาท และได้ส่งสินค้าออกทั้งหมดในเดือน ค.ศ. 2009[7]

ชิงเคว นับว่าแตกต่างจะรุ่นก่อนหน้านี้มากอาทิ การเปลี่ยนไปใช้เกียร์ 6 จังหวะแบบซีเควนเชียล (Sequential) ทำให้สามารถทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ในเวลา 3.4 วินาที และความเร็วสูงสุดที่ 350 กม./ชม. (217 ไมล์/ชม.) ชิงเคว ยังได้รับการปรับปรุงคาร์บอน ไฟเบอร์ใหม่ที่เรียกว่า "คาร์บอน-ไทเทเนียม" ซึ่งเสริมความแข่งแแกร่งให้กับรถมากยิ่งขึ้น สำหรับกำลังทำได้สูงสุดที่ 669 แรงม้า (678 PS; 499 kW) และแรงบิดสูงสุดที่ 780 นิวตัน·เมตร ที่ 4,000 รอบ/นาที[8]

ชิวเคว โรดสเตอร์

ปากานี ชิงเคว โรดสเตอร์ (Zonda Cinque Roadster) เหมือนรุ่นคูเป้ทุกประการเพียงแค่ปรับเป็นหลังคาเปิดประทุนได้ และผลิตออกมาเพียง 5 คันเช่นเดียวกัน

ซอนดา ไทรคอลอร์

ซอนดา ไทรคอลอร์ (Zonda Tricolore; คำว่า ไทรคอลลอร์ แปลว่า 3 สีในภาษาอิตาลี) ) ถือเป็นรุ่นท้ายสุดของตระกูลรถที่นำหน้าด้วย "ซอนดา" จะผลิตสู่ตลาดเพียง 3 คันเท่านั้น โดยโครงสร้างส่วนใหญ่มาจาก ซอนดา ชิวเคว ตัวถังไม่มีการทาสี โดยใช้สีจากคาร์บอน ไฟเบอร์ ที่มีเพียงสีฟ้าอ่อนเครือบ และใช้สีแดง ขาว และเขียวตามขอบจมูกสามเหลี่ยมด้านหน้าของรถ ไทรคอลอร์ จะจำหน่ายเพียง 1.2 ล้านยูโร หรือประมาณ 48 ล้านบาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปากานี ซอนดา http://www.autoevolution.com/pagani/history/ http://www.dupontregistry.com/autos/NewsCenter/New... http://www.pagani.com/zonda/zonda_S/default.aspx#t... http://www.pagani.com/zonda/zonda_roadster/default... http://www.pagani.com/zonda/zonda_tricolore/defaul... http://www.topcarrating.com/2008-pagani-zonda-cinq... http://www.topcarrating.com/2009-pagani-zonda-r.ph... http://www.topcarrating.com/2013-pagani-zonda-revo... http://www.topgear.com/uk/car-news/zonda-cinque-ro... http://www.topspeed.com/cars/pagani/2014-pagani-zo...